ความรู้เกี่ยวกับกล้องวงจรปิด CCTV

ความรู้เกี่ยวกับกล้องวงจรปิด CCTV

กล้องวงจรปิด ชื่อภาษาไทย กล้องโทรทัศน์วงจรปิด   ชื่อภาษาอังกฤษ CCTV ย่อมาจาก Closed Circuit TeleVision

ต้นกำเนิดของกล้องวงจรปิดครั้งแรกในโลก

ประเทศเยอรมนี ได้ติดตั้งระบบครั้งแรกโดย เอจี Siemens ในปี 1942 หรือ 78 ปีที่แล้ว เพื่อดูขีปนาวุธ

และ ในเดือนกันยายน 1968, Olean นิวยอร์ก คือแรกเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อติดตั้งกล้องวิดีโอ ในถนนธุรกิจเพื่อป้องกันการก่อการร้าย ต่อมาการใช้ โทรทัศน์วงจรปิดในภายหลังได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นใน ธนาคาร, สถานที่ราชการ,ที่สาธารณะ หรือแม้กระทั่งบริษัทห้างร้านต่างๆ

 

กล้องวงจรปิดในปัจจุบันแบ่งเป็น 2ชนิดใหญ่ๆ 

IP CAMERA  และ  ANALOG CAMERA

 

IP CAMERA  (Internet Protocol Camera) มักเรียกว่า กล้องไอพี

สายที่ใช้คือสายแลน (LAN) กล้องวงจรปิดแบบ IP Camera ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

   1.แบบไร้สาย (Wireless)

   ข้อดี

1. ติดตั้งง่ายโดยไม่จำเป็นต้องใช่ช่างผู้ชำนาญการในการติดตั้งเพราะไม่ต้องเดินสายสัญญาณ
2. สามารถเปลี่ยนที่ติดตั้งได้ตามความสะดวกของเจ้าของบ้านได้ง่ายๆ ไม่ลำบากเหมือนแบบใช้สาย
3.ค่าใช่จ่ายในการติดตั้ง และอุปกรณ์ต่ำกว่าแบบมีสาย

  ข้อเสีย

1. สัญญาณจะขาดหายเมื่ออินเตอร์เน็ตมีปัญหา
2. หากกล้องอยู่ห่างจุดส่งสัญญาณอาจทำให้ไม่เสถียร
3. ต้องใช้ความรู้ทาง Network ในการตั้งค่าระบบการเชื่อต่อ เพราะเป็นระบบเครือข่าย

 

     2. แบบเดินสาย (Wiring)

ข้อดี
1. มีความเสถียรสูงในการส่งสัญญาณ เพราะเป็นการส่งสัญญาณผ่านสายโดยตรง
2. ไม่มีสัญญาณรบกวน เพราะมีชั้นกันสัญญาณเพิ่มในสายอยู่แล้ว
3. สายของระบบมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี
4. การบำรุงรักษาง่าย ไม่ต้องทำบ่อยๆ เดินสายครั้งเดียวใช้ยาวๆ

ข้อเสีย
1. ราคาสูง เพราะใช้สายเดินจากกล้องไปที่เครื่องบันทึกทุกจุดจำนวนกล้องเยอะก็ยิ่งแพงตามระยะด้วย
2. ต้องให้ช่างที่ชำนาญดำเนินการให้
3. ถ้าเปลี่ยนจุดติดตั้งกล้อง ต้องเสียเวลาเดินสายใหม่

ข้อดีของระบบ IP CAMERA  (Internet Protocol Camera)

Wirless สนับสนุนการทำงานผ่านระบบเครื่อข่ายไร้สายมากกว่า Analog

• ระบบเครื่อข่ายเดิม : กล้อง IP สามารถใช้ร่วมกับระบบ LAN ที่มีอยู่แล้วได้โดยไม่ต้องเดินสายใหม่

• เพิ่มกล้องได้ง่าย : หากต้องการเพิ่มกล้องสามารถทำได้ง่ายโดยไม่ติดข้อจำกัดของ Channel ที่จำกัดของ DVR อีกต่อไป

• ประสิทธิภาพสูง : เนื่องจากกล้อง IP แต่ละตัวทำงานแยกอิสระ ไม่ได้ส่งภาพไปประมวลผลที่ตัวกล้อง ทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพ “เต็มที่” ไม่อั้นที่ DVR อีกต่อไป

• แต่ละตัวมี IP ของตัวเอง ทำให้การตั้งค่ากล้องแต่ละตัวทำได้ง่าย

• ความละเอียด : เนื่องจากเป็นระบบ Digital ทำให้สามารถข้ามข้อจำกัดที่ระบบอนาล็อกไม่สามารถทำได้ นั่นคือ ข้ามจาก 576 TVL ไปเป็น 1080p

• POE :บางรุ่นสามารถส่งสายไฟไปพร้อมกับสาย LAN ได้ โดยไม่ต้องเดินสายไฟแยกต่างหาก

• ความปลอดภัยสูงมาก : เนื่องทำงานบนระบบ digital สามารถที่จะ backup ข้อมูลได้ตลอดเวลาบน server และ hacker ไม่สามารถ “ดัก”เอาข้อมูลระหว่างทางได้ อ้างอิง https://www2.si.mahidol.ac.th/km/cop/support/communication/7089/

ข้อเสีย IP CAMERA  (Internet Protocol Camera)

• การส่งผ่านข้อมูล : เนื่องจากใช้ Bandwidth สูงมาก ตั้งแต่ 500 kbps ถึง 1.5 Mbps ทำให้ระบบทำงานหนัก

• ต้นทุน : ค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้นกว่าระบบอนาล็อก ไม่ว่าจะเป็นค่าอุปกรณ์, การดูแลรักษา รวมไปถึง ความรู้ของผู้ที่บริหารจัดการข้อมูล

 

 

ANALOG CAMERA  มักเรียกว่า กล้องอนาล๊อก

ใช้สายสัญญาณชนิด โคแอคเชียล หรือ ตระกูล RG มาเป็นอุปกรณ์นำสัญญาณ ข้อจำกัดที่พบเช่น สายสัญญาณถูกคลื่นรบกวน ทำให้ภาพที่ได้ไม่ชัด

ข้อดี

  • ต้นทุน: ระบบอนาล็อกมีต้นทุนที่ถูกกว่าระบบ IP
  • ยืดหยุ่นกว่า : เนื่องจากว่ามีกล้องหลากหลายประเภทให้เลือกใช้ตั้งแต่ระบบเล็กไปถึงระบบใหญ่ มีอินฟราเรดติดตั้งมาพร้อมกับกล้อง ทำให้มีตัวเลือกสำหรับการใช้งานประเภทต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
  • ความเข้ากันได้ : ในระบบอนาล็อกมีเพียงระบบ PAL และ NTSC เท่านั้น ทำให้สามารถเลือกกล้องต่างยี่ห้อมารวมในระบบเดียวกันได้
  • ปัญหาน้อย : เนื่องจากว่าระบบอนาล็อกถูกพัฒนามามาก จนแทบจะเรียกได้ว่าอยู่ในช่วงสุดท้ายของเทคโนโลยีของระบบอนาล็อกแล้ว ทำให้ปัญหาต่างๆถูกแก้ไขไปจนหมด ทำให้ปัญหาต่างๆของระบบอนาล็อกเกิดขึ้นน้อยมาก

ข้อเสีย

  • function : ระบบอนาล็อกไม่มีฟังชั่นเช่นเดียวกับที่กล้อง IP มี เว้นแต่กล้องอนาล็อกในระบบราคาแพงเท่านั้น
  • ความปลอดภัย : ระบบอนาล็อกมีความปลอดภัยน้อย เนื่องจากไม่มีการเข้ารหัสของข้อมูล ไม่ว่าใครก็สามารถดูภาพจากกล้องวงจรปิดได้
  • ระยะทาง : ไม่สามารถรองรับการส่งสัญญาณในระยะไกลๆได้ ข้อมูลอ้างอิง : https://www.cctvbangkok.com/article/

 

 

ชนิดของกล้องวงจรปิด

1.กล้อง BOX หรือกล้องกระบอก (Box Standard Camera)


กล้องวงจรปิดมีรูปร่างลักษณะสี่เหลี่ยมทรงกระบอก เหมาะสำหรับติดตั้งภายในบริเวณภายในอาคารและที่ๆมีแสงสว่างในระดับหนึ่ง หรือสามารถเปิดไฟเพื่อช่วยให้แสงสว่างแทนก็ได้ กล้องวงจรปิดชนิดนี้มักไม่มีระบบ Infrared ไม่สามารถกันน้ำ  ข้อดีคือเราสามารถเลือกขนาดของเลนส์ให้เหมาะสมกับสภาพหน้างานได้

2.กล้อง Bullet หรือที่มักเรียกกันว่า กล้องกระบอก เหมาะสำหรับติดภายนอกอาคาร

สามารถกันน้ำ กันแดดกันฝนได้โดยไม่ต้องใส่ Housing และมีอินฟราเรดภายในตัวใช้ได้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ส่วนมากกล้องประเภทนี้จะไม่สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ หรือเรียกอีกอย่างว่า Lens Fixed

 

3.กล้อง DOME ( กล้องโดม )เหมาะสำหรับติดภายในอาคาร ติดฝ้า เพดานเพื่อความสวยงาน

  เหมาะสำหรับติดตั้งภายในอาคาร ภายในบ้าน ใช้ติดตามใต้ฝ้าเพื่อความสวยงาม กล้อง Dome มีลักษณะเป็นกลมๆ มีทั้งแบบที่มีอินฟราเรดและไม่มีอินฟราเรด และบางรุ่นยังออกแบบให้สามารถกันน้ำ กันฝนได้อีกด้วย กล้องวงจรปิดชนิดนี้ส่วนมากจะเห็นติดตามธนาคาร สำนักงานเป็นส่วนใหญ่เพื่อความสวยงามและการเก็บซ่อนสายได้สะดวก

 

4.กล้อง SPEED DOME ( กล้องสปีดโดม)

เหมาะสำหรับติดภายนอกอาคาร สามารถซูมและขยายภาพได้

กล้องวงจรปิดชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นลูกกลมๆ เหมือนลูกบอล มีขนาดใหญ่ ส่วนมากจะเห็นติดตั้งตามห้างสรรพสินค้า ส่วนมากจะใช้สำหรับดูภาพเหตุการณ์โดยรวมๆ สามารถตั้งให้หมุนไปแต่ละตำแหน่งที่ต้องการได้ มักจะใช้คู่กับ keyboard เพื่อต้องการสั่งให้หมุน หรือต้องการซูมเข้าไปดูเหตุการณ์ได้ใกล้ๆ และชัดขึ้น กล้องชนิดนี้มีราคาค่อนข้างแพง บางรุ่นอาจจะมีฟังก์ชัน Auto tracking ไว้คอยตรวจจับเวลามีคนเดินผ่านสามารถหมุนติดตามได้

ปัจจุบันยังมี MINI SPEED DOME

(มินิ สปีดโดม) อีกด้วย

Facebook Comments